สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 จัดตั้งเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2540 ตำบลโคกก่อ เป็นตำบลหนึ่งใน 13 ตำบลของอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 19 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ : ติดกับตำบลหนองโน, ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ : ติดกับตำบลบัวค้อ อำเภอเมือง, ตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ
จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก : ติดกับตำบลหนองปลิง ,ตำบลบัวค้อ อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก : ติดกับตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
อาณาเขตของตำบลโคกก่อมีเนื้อที่ประมาณ 54.14 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 33,836.125 ไร่
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลโคกก่อโดยทั่วไปเป็นที่สูง ทางด้านทิศใต้และลาดลงต่ำมาเรื่อย ๆ ลงทางด้านเหนือของตำบล แต่โดยส่วนรวมของตำบลโคกก่อแล้ว จะมีพื้นที่ลักษณะเป็นรูปลูกคลื่น ลอนตื้น โดยตลอดทั้งตำบล จะเบาบางบ้างเล็กน้อย ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 173-201 จากระดับน้ำทะเล
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะฝนตกสลับกับอากาศแห้ง (Wet and dry climate) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี
อยู่ที่ประมาณ 118 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ประมาณ 27.98 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 39 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ในช่วงเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ มีฤดูกาลต่างๆ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กรกฎาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
1.4 ลักษณะของดินดิน
ตำบลโคกก่อประกอบด้วยดินต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะของดินตามความเหมาะสมของดิน ได้ดังนี้
ดินชุดร้อยเอ็ด
-พบมากในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินบนลักษณะร่วนปนทราย และทรายปนร่วนสีน้ำตาลเข้มถึงน้ำตาลเทาอ่อนถึงเทา ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนดินเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว หน้าดินลึกมาก ความลาดชัน 2 % ความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0 – 5.5 อินทรีย์วัตถุต่ำถึงปานกลาง ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1.50 เมตร เหมาะสมปานกลางในการทำนา บริเวณที่พบในหมู่ที่ 5,7,9 และหมู่ที่ 3
ชุดดินโคราช
-พบในพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด เนื้อดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลปนเทา หน้าดินลึก ความลาดชัน 2.6% การระบายน้ำดีปานกลาง ดินชั้นล่างเป็นดินร่วน ดินเหนียวปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0 – 6.0 ปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำ – ปานกลาง ปริมาณโปรตัสเซียม ฟอสฟอรัส ปานกลางถึงต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ – ปานกลาง เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ และไม้ผลตลอดถึงพืชผักต่าง ๆ บริเวณที่พบ ในหมู่ที่ 1 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 12 และหมู่ที่ 14
ชุดดินน้ำพอง
-พบในพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชันเล็กน้อย เนื้อดินปนเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย สีน้ำตาลเข้มมาก ดินล่างเป็นดินทรายปนร่วน สีเทาอ่อนปนน้ำตาล ความลาดชัน 3.10 % หน้าดินลึกมาก การระบายน้ำค่อนข้างเร็ว ปริมาณอินทรีย์วัตถุต่ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5 – 7.0 %ปริมาณฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม ต่ำ ระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช พบมากในหมู่ที่ 2 , 3 , 5 , 7 , 8 และหมู่ที่ 9
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลโคกก่อแบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ มีหมู่บ้านในพื้นที่ ทั้งหมด 16 หมู่บ้านและการปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ท้องถิ่นคือ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ
ตารางที่ 1 รายชื่อหมู่บ้าน/ผู้นำของตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชื่อ-สกล |
ตำแหน่ง |
๑ |
บ้านโคกก่อ |
นายพรไพร เทวะสิงห์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสาวมทินา ทองภู |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสาวนงลักษณ์ พรหมรักษา |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๒ |
บ้านโรงบ่ม |
นางราตรี แสนตรี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายณรงค์ สาศิริ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายลัม สีภาชา |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๓ |
บ้านหนองหิน |
นายประนมเทียร ทิพย์สีราช |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสาวชยุตรา ภูทองวัน |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางวราภรณ์ หอมดวง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๔ |
บ้านหนองหิน |
นายธีระพล จันทร |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายมงกุฏ นนทะคำจันทร์ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายทองสุข หาวอง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายพล มีระหารนอก |
สารวัตรกำนัน |
|
|
นางรัศมี บุตรแสนศรี |
แพทย์ประจำตำบล |
๕ |
บ้านภูดิน |
นายชัชวาล พิมนต์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายประยงค์ ทุนกอง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายบัญชา เถียรชานาท |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๖ |
บ้านหนองแสง |
นายรัตนชัย งามดี |
กำนัน |
|
|
นายบุญสม คำสิงห์ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายสมบูรณ์ ทำประเสริฐ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายเกษม แก้วโยธา |
สารวัตรกำนัน |
๗ |
บ้านสมศรี |
นายอลงกต เกตุพลทอง |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายอดุลย์ เสนานิคม |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายชรินทร์ โยธาภักดี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๘ |
บ้านหนองแวงน้อย |
นายพงษ์สินธ์ ชูคันหอม |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายยงยุทธ นนยะ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสาวธนพร ชูคันหอม |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๙ |
บ้านหนองโจด |
นายธงชัย อุทัยดา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายประชาธิการ บาลศรี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายธีระวัฒน์ ศิริอุเทน |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายอำนาจ นิยม |
ผรส. |
๑๐ |
บ้านหัวช้าง |
นายวุฒิชัย สีสา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายภานุพงฐ์ แสนท้าว |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายจีระศักดิ์ เพียโคตรแก้ว |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๑๑ |
บ้านภูดิน |
นายถาวร โยธาภักดี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายสุนทร ชินอาจ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายจตุรงค์ อุทัยเรือง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๑๒ |
บ้านโคกก่อ |
นายชาญวิทย์ รัดเสนสี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางนพรัตน์ แก้วโยธา |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสาวแพร พาสงค์ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๑๓ |
บ้านหนองโจด |
นายบุญโฮม มาลี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายถิ่น รัตนเสนสี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางสายทอง วงสอง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๑๔ |
บ้านหนองสูง |
นายหนูการณ์ คำเสนา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายสายทอง ไชยสันต์ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายสมเด็จ รุ่งศรี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
๑๕ |
บ้านภูดินตักสิลา |
นายวัชระ กาสังข์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางมัจฉา โยธาภักดี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายวันนา พินิจมนตรี |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายศักดิ์ดา เพลินจิต |
ผรส. |
๑๖ |
บ้านค่ายสมศรี |
นายชรินทร์ ชินโคตร |
ผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นางประสาท เกตุพลทอง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
|
|
นายมังกร เกาะอำไพ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
หมายเหตุ ข้อมูล ณ มกราคม 2565
2. ประชากร
ตำบลโคกก่อมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 8,266 คน จำนวนครัวเรือนทั้งตำบล ประมาณ 2,394 ครัวเรือน โดยแยกเป็นชาย 4,045 คน เป็นหญิง 4,221 คน
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรตำบลโคกก่อ แยกเป็นหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 |
บ้านโคกก่อ บ้านโรงบ่ม บ้านหนองหิน บ้านหนองหินใต้ บ้านภูดิน บ้านหนองแสง บ้านสมศรี บ้านหนองแวงน้อย บ้านหนองโจด บ้านหัวช้าง บ้านภูดินเหนือ บ้านโคกก่อใต้ บ้านหนองโจดเหนือ บ้านหนองสูง บ้านภูดินตักสิลา บ้านหนองค่าย
|
170 51 168 237 134 107 160 95 168 186 239 156 173 126 81 143 |
297 87 370 401 283 168 251 161 280 341 383 218 260 190 134 221 |
314 62 317 433 266 188 272 177 302 371 384 258 290 229 129 227 |
611 149 687 834 549 356 523 338 582 712 767 476 550 419 263 450 |
รวม |
2,394 |
4,045 |
4,221 |
8,266 |
หมายเหตุ ข้อมูล นายทะเบียนอำเภอเมืองมหาสารคาม ณ กันยายน 2564
3.สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง - แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อบต. 7 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 6 แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 12 แห่ง
- มัสยิด - แห่ง
- ศาลเจ้า - แห่ง
- โบสถ์ - แห่ง
3.3 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐขนาดเล็ก - เตียง 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน - แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ…100…
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจ - แห่ง
ป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง
สถานีดับเพลิง - แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ เป็นพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจตำบลดอนหว่าน
องค์การบริ
4.ระบบบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ อยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามประมาณ 19 กิโลเมตร ระหว่างทางหลวงสายจังหวัดมหาสารคาม ไปอำเภอบรบือ โดยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตำบลโคกก่อเป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทางซึ่งมีการคมนาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีถนนสายทางหลวงชนบท หมายเลข มค 2008 และ สาย มค 2010 และถนนคอนกรีตภายในตำบลเป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อการคมนาคมติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญดังนี้
4.1.1 ทางหลวงชนบทสาย มค 2008 โดยเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย มหาสารคาม - อำเภอบรบือ กับทางหลวงแผ่นดินสาย มหาสาคาม - วาปีปทุม เริ่มจากบ้านหนองจิก ตำบลแก่งเลิงจาน เลี้ยวซ้ายผ่านตำบลหนองโน ตำบลโคกก่อ ตำบลบัวค้อ และสิ้นสุดที่บ้านดอนหว่าน ตำบลดอนหว่าน รวมระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
4.1.2 ทางหลวงชนบทสาย มค 2010 โดยเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินสาย มหาสารคาม - อำเภอบรบือ กับทางหลวงแผ่นดินสาย มหาสาคาม - วาปีปทุม เริ่มจากบ้านบ่อใหญ่ ตำบลบ่อใหญ่ เลี้ยวซ้ายผ่านตำบลหนองโก ตำบลโคกก่อ สิ้นสุดที่บ้านหนองปลิง ตำบลหนองปลิง รวมระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร
4.2 การไฟฟ้า
ใช้ไฟฟ้าครบทั้ง 16 หมู่บ้าน และมีประชากรที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดคิดเป็น 99 % มีบางครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจาก อาจจะอยู่ห่างชุมชน แต่ก็มีการแก้ไขโดยใช้ไฟฟ้าระบบพลังงานแสงอาทิตย์
4.3 การประปา
แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค/บริโภคของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลโคกก่อ จำนวน 16 หมู่บ้าน เป็น
ระบบประปาหมู่บ้าน
4.4 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสาขาย่อย 1 แห่ง
5.ระบบเศรษฐกิจ
5.1 การเกษตร
5.1.1. พื้นที่ทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาปี โดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ และมีบางส่วนที่อาศัยน้ำจาก คลองส่งน้ำระบบชลประทาน
5.1.2. พื้นที่ทำไร่ เกษตรกรบางส่วนทำไร่มันสำปะหลัง ทำไร่ยาสูบ (ยาเตอร์กิส) และไร่อ้อย
5.2 การประมง
พื้นที่ตำบลโคกก่อ ไม่มีอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก มีเพียงแต่การเลี้ยงปลาในบ่อตามธรรมชาติ
5.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในตำบลโคกก่อ เกษตรกรส่วนใหญ่จะเป็นปศุสัตว์ในครัวเรือน เช่น เลี้ยงวัว ควาย หมู และเลี้ยง.
เป็ด ไก่ เกือบทุกครัวเรือน สำหรับบริโภค ถ้ามีจำนวนมากก็เอาไว้จำหน่าย
5.4 การบริการ
มีบริการที่พัก 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 2 บ้านโรงบ่ม
5.5 การท่องเที่ยว
พื้นที่ตำบลโคกก่อ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวตำบลโคกก่อ และใกล้เคียงรู้จักกันเป็นอย่างดี นั่น
คือ "อ่างเก็บน้ำโคกก่อ"
5.6 อุตสาหกรรม/การพาณิชย์
พื้นที่ตำบลโคกก่อ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ แต่จะมีกิจการขนาดเล็ก ดังนี้
5.6.1. โรงงานผลิตน้ำดื่ม ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 5 บ้านหนองหิน หมู่ที่ 9 บ้านหนองโจด หมู่ที่ 10 บ้านหัวช้าง รวม 3 แห่ง
5.6.2. สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 1 บ้านโคกก่อ จำนวน 1 แห่ง
5.6.3. โรงงานพลาสติก ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 1 บ้านโคกก่อ จำนวน 1 แห่ง
5.7 แรงงาน
แรงงานตำบลโคกก่อ ช่วงอายุ 20 – 40 ปี ส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) จะไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด แต่จะมีเป็นส่วนน้อย (ประมาณ 20%) ที่ประกอบอาชีพที่หมู่บ้าน และในตัวเมือง
ประชากรตำบลโคกก่อส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ อาชีพรองลงมาคือรับจ้างและค้าขาย
6.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
6.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนตำบลโคกก่อ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนวัด ที่มีอยู่จำนวนมาก
กระจายอยู่ในหมู่บ้าน
6.2 ประเพณีและงานประเพณี
ประชาชนชาวตำบลโคกก่อ ได้ยึดถือและปฏิบัติงานประเพณีต่างๆ ตาม ฮีต 12 ครอง 14 แต่จะมีงานประเพณีที่เด่น ๆ ในตำบล ดังนี้
6.2.1งานประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวตำบลโคกก่อ ทุกๆ หมู่บ้าน จะรวมกันจัดขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ของทุกปี
6.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน
6.3.1 ด้านผลิตภัณฑ์ ชาวตำบลโคกก่อ มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาแต่ตั้งเดิม คือ ผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เสื่อกก ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่
6.3.2 ด้านภาษาถิ่น ชาวตำบลโคกก่อ ใช้ภาษาอิสานในการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะใช้ภาษาไทย เป็น
ภาษาที่ใช้ในทางราชการ
6.4 สินค้าพื้นเมือง
6.4.1 ดอกไม้ประดิษฐ์จากถุงน่อง บ้านหนองแสง หมู่ที่ 6
6.4.2 ผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน บ้านหนองค่าย ม.16
6.4.3 ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ จากกลุ่มอาชีพบ้านหนองหิน
6.4.4 เสื้อผ้าฝ้ายสำเร็จรูปกลุ่มอาชีพบ้านหนองหิน
6.4.5 ข้าวกล้องข้าวเหนียวข้าวจ้าว ข้าวก่ำ บ้านหัวช้าง ม.10
6.4.6 เสื่อกกบ้านหัวช้าง หมู่ที่ 10
6.4.7 โมบายปลาตะเพียน และพวงกุญแจ บ้านหนองค่าย ม.16
6.4.8 ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ บ้านหนองหิน
7.ทรัพยากรธรรมชาติ
7.1 น้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญชองตำบลโคกก่อ มีดังนี้
7.1.1. ลำห้วยคะคาง
เป็นลำน้ำอีกสาขาหนึ่งของลำน้ำชี โดยไหลจากอ่างเก็บน้ำห้วยคะคางลงไปทางทิศเหนือ ไหลลงอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน และไหลลงลำน้ำชี ในตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม
7.1.2. อ่างเก็บน้ำห้วยคะคาง
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีปริมาณการเก็บกักน้ำน้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ของ
กรมชลประทาน ซึ่งอยู่ในเขต หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 8 และหมู่ที่ 12 สามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง
7.1.3. อ่างเก็บน้ำห้วยหินเหิบ
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กมีปริมาณการกักเก็บน้ำน้อยส่วนมากจะใช้น้ำในการเกษตรเฉพาะในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 9 , 13
7.2 ป่าไม้
ในตำบลโคกก่อมีพื้นที่ป่าไม้ถาวรตาม มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 , 9 และ หมู่ที่ 13 เป็นบางส่วน คือป่าโคกหินลาด มีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่
7.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทรัพยากรป่าไม้ค่อนข้างสมบูรณ์จำนวน 700 ไร่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่า
โคกหินลาด ในเขตตำบลโคกก่อ นอกจากนี้ยังมี ที่สาธารณะที่มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ดอนปู่ตา ป่าช้า เป็นต้น